หนึ่งในศัตรูตลอดกาลของมนุษยชาติคือ “ยุง” สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่คร่าสังหารชีวิตผู้คนมานักต่อนักด้วยโรคร้ายต่าง ๆ
ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เคยค้นพบแล้วว่า ยุงเลือกเป้าหมายในการกัดจาก “กลิ่น” ของเรา รวมถึงสารเคมีที่ปล่อยออกมาจากน้ำมันและต่อมเหงื่อในผิวหนัง ต่อมเหงื่อยังปล่อยโมเลกุลต่าง ๆ ออกมา ซึ่งจะถูกจุลินทรีย์ในผิวหนังสลายตัวเพื่อใช้เป็นสารอาหาร กระบวนการเหล่านี้จะปล่อยโมเลกุลขนาดเล็กที่มีกลิ่นเฉพาะตัวออกมา ซึ่งสามารถดึงดูดยุงได้
"ยุง" ชอบกัดคนแบบไหน?
วิจัยพบสาเหตุ ยุงชอบกัดคนบางคนเป็นพิเศษเพราะ “กรด” และ “กลิ่น”
อัปเดต! ไวรัสซิกาในไทย ยุงลายพาหะนำโรค พบระบาดสูงขึ้นในหญิงตั้งครรภ์
แต่ในงานศึกษาวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports เมื่อกลางเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา พบว่า การปรับแต่งจุลินทรีย์บางตัวที่อาศัยอยู่ในผิวหนังของเราอาจเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงไม่ให้กัดเราได้
การศึกษาได้ระบุสารเคมีที่สร้างโดยจุลินทรีย์ที่ผิวหนังซึ่งสามารถขับไล่ยุงได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำหอมธรรมชาตินี้สามารถขับไล่ “ยุงลาย” (Aedes aegypti) ซึ่งเป็นพาหะของโรคร้ายทั้ง ชิคุนกุนยา ไข้เลือดออก ไข้เหลือง และซิกา ได้
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การปรับเปลี่ยนจุลินทรีย์บนผิวหนังเพื่อปล่อยกลิ่นบางอย่างอาจเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัด นักวิจัยกล่าวว่า แนวทางนี้อาจปลอดภัยกว่าการใช้สารไล่ยุงสังเคราะห์ เช่น สเปรย์กำจัดแมลง ซึ่งจางหายไปได้ในเวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง และอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
นักวิจัยได้รับแรงบันดาลใจในการค้นหาเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่มียุงเป็นพาหะ อิเลียโน วิเอรา คูตินโญ-อาบรู นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก หนึ่งในทีมวิจัย บอกว่า “เราต้องการเครื่องมือใหม่ เนื่องจากประชากรยุงบางกลุ่มกำลังพัฒนาความสามารถในการต้านทานต่อยาฆ่าแมลง”
ดังนั้น เขาและเพื่อนร่วมทีมจึงหันมาสนใจจุลินทรีย์ที่ผิวหนังของมนุษย์ คูตินโญ-อาบรู บอกว่า “การมุ่งเป้าไปยังแหล่งที่มาซึ่งดึงดูดความสนใจของยุง ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ในผิวหนังของมนุษย์ สามารถนำไปสู่การป้องกันยุงกัดและการแพร่กระจายของโรคได้”
ทีมวิจัยได้เพาะเลี้ยงแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ที่อยู่ในสกุล สตาฟีโลคอ็อกคัส (Staphylococcus) และคอรีเนแบคทีเรียม (Corynebacterium) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ 2 กลุ่มกว้าง ๆ ที่พบได้ทั่วไปบนผิวหนังของมนุษย์
พวกเขาเลี้ยงจุลินทรีย์ดังกล่าวในสภาวะที่คล้ายคลึงกับที่พบในผิวหนัง จากนั้นจึงจำแนก “สารระเหย” ซึ่งมักมีกลิ่นที่ถูกปล่อยออกมาจากจุลินทรีย์ จากนั้นนำสารระเหยเหล่านี้ไปทดสอบพฤติกรรมของยุงลาย
ทีมวิจัยจัดห้องที่ปลายด้านหนึ่งมีตาข่ายพลาสติกเคลือบด้วยสารประกอบระเหยที่มีกลิ่น และปลายอีกด้านหนึ่งมีตาข่ายพลาสติกเคลือบด้วยสารประกอบที่ไม่มีกลิ่น เช่น น้ำ เพื่อเปรียบเทียบ จากนั้นจึงวัดเวลาที่ยุงอยู่ใกล้ฝั่งที่มีกลิ่นเปรียบเทียบกับฝั่งสารประกอบที่ไม่มีกลิ่น
พวกเขาพบว่า มีสารระเหยที่ผิวหนัง 3 ชนิดที่สามารถไล่ยุงได้ ได้แก่ กรด 2-เมทิลบิวทีริก (2-methyl butyric acid), กรด 3-เมทิลบิวทีริก (3-methyl butyric acid) และเจอรานิออล (Geraniol)
สองกลิ่นแรกมักพบในผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล ในขณะที่เจอรานิออลเป็นส่วนประกอบหลักในตะไคร้หอมและน้ำมันดอกกุหลาบ
นักวิจัยยังพบด้วยว่า ยุงดูเหมือนจะถูกดึงดูดเข้าหากรดแลคติกเป็นพิเศษ สิ่งที่น่าสนใจคือ สารระเหยที่ผิวหนังบางชนิด เช่น ออกทานอลและกรดอะซิติก ไม่ได้ดึงดูดยุง เว้นแต่จะรวมเข้ากับกรดแลคติค สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า กรดแลคติคส่งผลต่อการที่สารเคมีอื่น ๆ บนผิวหนังจะดึงดูดยุง
จากผลลัพธ์เหล่านี้ ทีมวิจัยเสนอว่า เราอาจสามารถเปลี่ยนจุลินทรีย์ในผิวหนังเพื่อหยุดการผลิตสารเคมีที่ดึงดูดยุงหรือผลิตสารระเหยที่ขับไล่ยุงได้
พวกเขายังแนะนำว่า การเปลี่ยนแปลงจุลินทรีย์ในผิวหนังให้ผลิตกรดแลคติคน้อยลงสามารถช่วยป้องกันยุงกัด และลดการแพร่กระจายของโรคที่มียุงเป็นพาหะได้
หลังการค้นพบ ทีมวิจัยยังได้ทดลองดัดแปลงจุลินทรีย์บนผิวหนัง แล้วนำไปทดลองกับหนู คูตินโญ-อาบรูบอกว่า “เรากำจัดยีนที่สังเคราะห์กรดแลคติกในจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในผิวหนังมนุษย์ 2 ตัว เพื่อพิสูจน์ความสำคัญของกรดแลคติกในฐานะตัวดึงดูดยุงที่สำคัญ”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
จากนั้นทีมวิจัยนำจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้ไปใช้กับผิวหนังของหนูทดลอง และพบว่า ช่วยลดจำนวนยุงที่เกาะบนตัวหนูทดลองเป็นเวลาหลายวันได้อย่างมาก
“ผลลัพธ์เหล่านี้บอกเป็นนัยว่า ยุงมีแนวโน้มที่จะกินเลือดจากมนุษย์น้อยลงหากเราถูกปกคลุมด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยลดโอกาสที่ยุงจะกัด และจะลดการแพร่กระจายของโรคได้ต่อไป” คูตินโญ-อาบรูกล่าว
หลังจากนี้ ทีมวิจัยจะทดสอบความปลอดภัยของการใช้จุลินทรีย์ที่ได้รับการดัดแปลงกับผิวหนังของหนูทดลอง และทดสอบว่าสิ่งนี้สามารถไล่ยุงสายพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ยุงลายได้หรือไม่ หลังจากนั้น คูตินโญ่-อาบรูกล่าวว่า พวกเขาหวังว่าจะได้ทดลองกับมนุษย์ด้วยวิธีการรักษาที่คล้ายกันในที่สุด
งานวิจัยนี้นับเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญ ของแสงสว่างที่อาจจะนำพามนุษยชาติไปสู่โลกที่พวกเราทุกคนจะไม่โดนยุงตัวร้ายกัดอีกต่อไป
เรียบเรียงจาก Live Science
ปฏิทินวันพระ 2567 เช็กวันสำคัญทางศาสนา-วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่เท่าไร
“เนย ปภาดา” ประกาศเลิกสามี ยุติชีวิตคู่หลังแต่ง 2 ปี
เปิดภาพเรือหลวงสุโขทัย ไทย-สหรัฐฯ ปฏิบัติค้นหา-ปลดวัตถุอันตราย