นักวิชาการ วิเคราะห์เหตุ "อิสราเอล" รุนแรงสุดในรอบ 50 ปี

ผศ.มาโนชญ์ อารีย์ นักวิชาการ อาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลาง ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ เปิดโต๊ะข่าว ผ่านทาง PPTV Online ว่า อย่างแรกที่เราไม่ค่อยได้คุยหรือหยิบยกมาพูดก็คือ ปฏิบัติการของกลุ่มฮามาสในครั้งนี้ เกิดขึ้นเช้าตรู่ของวันที่ 7 ต.ค. 2566 เขาใช้ชื่อปฏิบัติการพายุแห่งอัล – อักซอ (Operation Al-Aqsa Storm) ซึ่งมีนัยยะเกี่ยวกับมัสยิดอัล – อักซอ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 5 – 6 ต.ค.ที่ผ่านมา

อิหร่าน ปัดอยู่เบื้องหลัง “กลุ่มฮามาส” โจมตีอิสราเอล

เช็กแนวโน้มค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ จับตาเหตุโจมตีอิสราเอล-เงินเฟ้อสหรัฐ

ระหว่างวันที่ 29 ก.ย. – 6 ต.ค. ในประเทศอิสราเอล เป็นเทศกาลวันหยุดยาว เป็นวันหยุดทางศาสนา เทศกาลนี้เขาจะไปประกอบพิธีทางศาสนา แสวงบุญ โดยเฉพาะกับสถานที่ที่เรียกว่าวิหารโซโลมอน ที่มีความเชื่อว่าอยู่บริเวณมัสยิดอัล-อักซอ โดยปกติทุกปีก็จะมีการเดินอยู่รอบๆ กำแพง

แต่ปีนี้ ชาวยิว ที่มีลักษณะที่มีความชาตินิยมค่อนข้างสูงเป็นพันคน บุกเข้าไปในมัสยิด และประกอบพิธีทางศาสนาข้างในนั้น สถานที่ตรงนี้ โดยข้อตกลง หรือ กฎหมายระหว่างประเทศ ระบุว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สงวนไว้สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามเท่านั้น ส่วนคนนอกเขาให้ไปเยี่ยมชมได้ สังเกตการณ์ได้ แต่ห้ามประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

  นักวิชาการ วิเคราะห์เหตุ "อิสราเอล" รุนแรงสุดในรอบ 50 ปี

ดังนั้นเราจะเริ่มเห็นแล้วว่า มีคนเป็นพันคนบุกเข้าไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ขณะที่ชาวปาเลสไตน์ ถูกกันไม่ให้เข้า และมีกองกำลังอิสราเอลปกป้องอยู่ ตรงนี้เองเป็นชนวนเหตุหนึ่งที่สำคัญมากๆ หากดูจากชื่อของปฏิบัติการ

ผศ.มาโนชญ์ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา ฮามาสส่งสัญญาณเตือนมาตลอดว่า มัสยิดอัล – อักซอ เป็นเส้นแบ่งที่ข้ามไม่ได้ และเขาเตือนอิสราเอล โดยใช้คำว่าอย่าเล่นกับไฟ ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น จึงไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมายว่าจะมีปฏิบัติการจากฝั่งฮามาส เพราะหลายครั้งที่ผ่านมา เมื่อมีเหตุการณ์ลักษณะนี้ ก็มักจะมีปฏิกริยาทุกครั้ง

“สิ่งที่เหนือความคาดหมายคือ รูปแบบและวิธีการในการปฏิบัติการครั้งนี้ ทั้งทางอากาศ ทางบก ยิงจรวด บุกเข้ามา เป็นปรากฎการณ์ใหม่ ที่เวลาเราจะวิเคราะห์ว่าหนทางข้างหน้าจะไปอย่างไร ก็จะใช้สูตรเดิมไม่ได้ วันนี้นักวิเคราะห์บอกว่า สถานการณ์อันตรายมากที่สุดในรอบ 50 ปี หรือหลังจากที่มีสงครามอาหรับอิสราเอลครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1973”

ผศ.มาโนชญ์ กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้มีการโจมตีของอิสราเอลเข้าไปในค่ายผู้ลี้ภัยเจนิน ที่เชือ่ว่ามีกลุ่มฮามาสแทรกซึมและฝังตัวอยู่ในนั้น และใช้วิธีการโจมตีทางอากาศเข้าไปในค่ายผู้ลี้ภัย ทำให้คนเสียชีวิตเยอะมากพอสมควร อย่างที่เคยเป็นข่าวไปก่อนหน้านี้ ดังนั้นด้วยเหตุผลและปัจจัยก็นำไปสู่ปฏิบัติการของฮามาส

ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งที่ประกอบเข้าด้วย หากจับสัญญาณล่าสุด ซาอุดีอาระเบียเตรียมปรับความสัมพันธ์กับอิสราเอล ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก ก็จะคล้ายกับปี 1979 ที่อิยิปต์ปรับความสัมพันธ์กับอิสราเอล ทำให้ประเด็นปัญหาปาเลสไตน์ถูกลืมไป อาหรับก็ทยอยกันปรับความสัมพันธ์กับอิสราเอล ดังนั้นถ้าซาอุดีอาระเบียปรับความสัมพันธ์วันนี้ ก็อาจทำให้ประเทศมุสลิมหลายประเทศทำตาม โดดเดี่ยวปัญหาปาเลสไตน์ ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญเช่นกัน

วันที่ 7 ต.ค. เป็น 1 วันถัดจากวันที่มีการเริ่มสงครามอาหรับอิสราเอลในปี 1973 ที่เกิดขึ้นวันที่ 6 ต.ค.ก็ครบรอบ 50 ปีด้วย

สิ่งที่น่าห่วงกังวลมากที่สุด และเชื่อว่าคนไทยที่อยู่ที่นั่น รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งในภาพที่ตนเองมีอยู่ค่อนข้างน่ากลัว สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆ เลี่ยงไม่ได้ คือ อิสราเอลจะถล่มทางอากาศฉนวนกาซาอย่างรุนแรง แต่สิ่งที่ยังไม่แน่คือจะมีปฏิบัติการภาคพื้นดินร่วมด้วยหรือไม่ นอกจากนั้นยังมีรายงานข่าว กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ขู่ด้วยว่า หากอิสราเอลปฏิบัติการรุกเข้ามาในกาซา ก็อาจมีการกระโจนเข้าสู่สงครามด้วย

วันนี้สัญญาณจากอิสราเอล ก็ชัดว่าเขาต้องการถอนรากถอนโคนฮามาส ส่วนปาเลสไตน์ และฮามาส ก็ส่งสัญญาณชัดคือเป้าหมายต้องการยุติการยึดครองของอิสราเอล เมื่อเพดานขยับขึ้น จึงมีความเสี่ยงสูงมาก

ภาพจากMAHMUD HAMS / AFP

“กลุ่มฮามาส” คือใคร? มีจุดประสงค์อะไรจึงต้องโจมตีอิสราเอล?

สภาพอากาศวันนี้ ฝนถล่ม 54 พื้นที่ เหนือ-อีสาน ฝนตกหนักถึงหนักมาก!

เปิดปฏิทินวันหยุดตุลาคม 2566 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ คำพูดจาก เว็บสล็อตแมชชีน

You May Also Like

More From Author