6 สัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเหตุประท้วงครั้งใหญ่ในเกาหลีใต้ โดยเป็นการรวมกลุ่มของ “ครู” ที่ความไม่พอใจถูกจุดชนวนจากการเสียชีวิตของ อี มินโซ (นามสมมติ) ครูสาววัย 23 ปีของโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ที่ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองหลังถูกนักเรียนและผู้ปกครองกลั่นแกล้งกดดันจนทนไม่ไหว
พัค ดูยอง ลูกพี่ลูกน้องของมินโซ เล่าว่า ลูกพี่ลูกน้องของเขาเพิ่งสอนมาได้ไม่ถึงปี โดยการเป็นครูเป็นความฝันของเธอตั้งแต่ยังเด็ก รวมถึงเป็นการเดินตามรอยแม่ของเธอ และเธอชื่นชอบเด็ก ๆ มาก
วิจัยใหม่พบ มนุษย์เคยเกือบสูญพันธุ์เมื่อ 1 ล้านปีก่อน
ผู้นำยูเครนสั่งปลดรมว.กลาโหม ชี้ต้องการ “แนวทางใหม่”
"เพนตากอน" เปิดเว็บไซต์รายงานปรากฏการณ์ UFO ครบวงจร
เขาเข้าไปจัดระเบียบอะพาร์ตเมนต์เล็ก ๆ ของมินโซ พบว่าข้างในมีปลาทองที่เธอเลี้ยงไว้ เตียงในสภาพยังไม่ได้จัด และข้าง ๆ มีกองภาพวาดจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของเธอ ด้านล่างเป็นกองหนังสือเกี่ยวกับวิธีรับมือกับภาวะซึมเศร้า
แต่นอกจากของเหล่านั้นแล้ว พัคยังพบไดอารีประจำวันของมินโซ ซึ่งเปิดเผยให้ได้รู้ว่า ในช่วงหลายเดือนก่อนที่เธอจะฆ่าตัวตาย มินโซถูก “ถล่ม” ด้วยคำร้องเรียนจำนวนมากจากพ่อแม่ผู้ปกครองของนักเรียน โดยกรณีล่าสุดคือ ลูกศิษย์คนหนึ่งของเธอใช้ดินสอทำร้ายเด็กอีกคน ทำให้เธอได้รับสายและข้อความต่อว่าจากผู้ปกครองเป็นจำนวนมาก
ในไดอารีที่เธอเขียนไว้ก่อนเสียชีวิต หน้าวันที่ 5 มิถุนายน อี มินโซ บรรยายถึงความกลัวที่ครอบงำร่างกายของเธอขณะที่เธอเข้าไปในห้องเรียนเพื่อสอน “ฉันรู้สึกแน่นหน้าอก ฉันรู้สึกเหมือนกำลังจะร่วงหล่นไปยังที่ไหนสักแห่ง ฉันเหมือนไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนด้วยซ้ำ”
ส่วนในหน้าวันที่ 3 กรกฎาคม ครูโรงเรียนประถมเขียนว่า เธอรู้สึกหนักใจกับงานที่บ้าคลั่งจน “อยากเลิก” และ 2 สัปดาห์ต่อมา เธอก็ตัดสินใจปลิดชีวิตตัวเอง โดยเพื่อนร่วมงานพบร่างของ อี มินโซ เสียชีวิตอยู่ในตู้เก็บของในห้องเรียน
โศกนาฏกรรมครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดกระแสความโกรธแค้นจากครูโรงเรียนประถมทั่วประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งต่างออกมาแบ่งปันประสบการณ์การถูกรังแกจากผู้ปกครองและลูก ๆ ที่เอาแต่ใจ
พวกเขากล่าวว่า ผู้ปกครองมักกดดันพวกเขาจนถึงจุดแตกหัก โดยมักโทรศัพท์มาหาพวกเขาทุกชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นวันทำงานหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ และบ่นหรือโวยวายอย่างไม่หยุดยั้งและไม่ยุติธรรมตลอดเวลา
ข้อร้องเรียนบางข้อมีความน่ากลัวเป็นพิเศษ เพราะอาชีพครูในเกาหลีใต้สามารถถูกรายงานเรื่องการใช้ความรุนแรงต่อเด็กได้ง่าย ไม่ว่าจะทางร่างกายหรือจิตใจ ซึ่งข้อกล่าวหาดังกล่าวอาจทำให้ครูถูกไล่ออกจากงานได้ทันที
ครูคนหนึ่งได้รับการร้องเรียนหลังจากปฏิเสธคำขอของผู้ปกครองที่ต้องการให้ครูโทรไปปลุกลูกทุกเช้า ครูอีกรายหนึ่งถูกร้องเรียนหลังยึดสติกเกอร์รางวัลจากนักเรียนคนหนึ่งที่ใช้กรรไกรทำร้ายเพื่อนร่วมชั้นเรียน โดยถูกร้องเรียนว่า “ครูทำร้ายจิตใจเด็ก”
นั่นทำให้ในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา ครูหลายหมื่นคนออกมาชุมนุมกันในกรุงโซล โดยบอกว่าตอนนี้พวกเขากลัวมากที่จะถูกเรียกว่าเป็น “ผู้ทารุณกรรมเด็ก” เพราะพวกเขาไม่สามารถสั่งสอนหรือลงโทษนักเรียนได้ แม้แต่ในกรณีที่เด็กนักเรียนกำลังทำร้ายกันเอง
หนึ่งในครูที่มาประท้วงอย่าง คิม จินซอ วัย 28 ปี เล่าว่า เธอเคยมีความคิดฆ่าตัวตายเช่นกัน และจำเป็นต้องหยุดงาน 3 เดือน หลังจากถูกร้องเรียนรุนแรง 2 ครั้ง จากการที่เธอขอให้นักเรียนที่ก่อกวนการเรียนการสอน ไปสงบสติอารมณ์ในห้องน้ำ 5 นาที และอีกกรณีหนึ่งเธอถูกร้องเรียนเพราะแจ้งผู้ปกครองว่ามีลูกของพวกเขาทะเลาะกัน ซึ่งในทั้งสองกรณี ทางโรงเรียนบังคับให้เธอต้องเป็นฝ่ายขอโทษ
คิมบอกว่า เธอมาถึงจุดที่เธอไม่รู้สึกว่าสามารถสอนชั้นเรียนได้อย่างปลอดภัย “พวกเราครูรู้สึกท้อแท้อย่างยิ่ง ผู้ที่เคยสัมผัสประสบการณ์นี้โดยตรงจะเปลี่ยนแปลงโดยพื้นฐาน ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยสัมผัสก็เคยเห็นมันเกิดขึ้น ดังนั้นไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม มันก็ทำให้เรารู้สึกอ่อนแอลง”
ด้าน ควอน (ไม่เปิดเผยชื่อ) ครูอีกคนหนึ่ง บอกว่า ในช่วง 10 ปีที่เขาสอน เขาเคยลาป่วย 2 ครั้งเพื่อรับมือกับภาวะซึมเศร้าและอาการตื่นตระหนก (Panic) ซึ่งเกิดจากความเครียดที่เกิดจากผู้ปกครองและนักเรียน
“เมื่อ 4 ปีที่แล้วคุณสามารถส่งนักเรียนที่ก่อกวนการเรียนการสอนออกไปนอกห้องหรือหลังห้องได้ แต่ต่อมาพ่อแม่ก็เริ่มร้องเรียนฐานทำร้ายเด็ก ควอนตัดสินใจย้ายไปยังโรงเรียนในชุมชนที่ยากจนกว่า และยืนยันว่า พฤติกรรมของผู้ปกครองที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่านั้นแย่กว่ามาก
สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมการร้องเรียนจนถึงขั้นมีครูฆ่าตัวตายนี้ คือสังคมที่มีการแข่งขันสูงของเกาหลีใต้ ซึ่งเกือบทุกอย่างขึ้นอยู่กับความสำเร็จทางวิชาการ นักเรียนแข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อให้ได้เกรดที่ดีที่สุดตั้งแต่อายุยังน้อย จนกระทั่งวันหนึ่งได้เข้ามหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดคำพูดจาก PG SLOT สล็อตเว็บตรง
ควอนกล่าวว่า “ความคิดของผู้ปกครองคือ ‘ลูกของฉันเท่านั้นที่สำคัญ’ และเมื่อคุณคิดแค่เพียงว่าจะต้องส่งลูกของคุณเข้าเรียนในวิทยาลัยดี ๆ ให้ได้ คุณจะกลายเป็นคนเห็นแก่ตัวมาก ไม่ต้องสงสัยเลยว่าความกดดันนี้ส่งผ่านไปยังเด็ก ๆ และส่งผลต่อพฤติกรรมของพวกเขาด้วย พวกเขาไม่รู้ว่าจะคลายความกดดันนี้ได้อย่างไร ดังนั้นพวกเขาจึงแสดงท่าทีโดยการทำร้ายกัน”
การกลั่นแกล้งและความรุนแรงในหมู่นักเรียนเป็นปัญหาที่ทราบกันดีในโรงเรียนของเกาหลีใต้ ในเดือนกุมภาพันธ์ รัฐบาลที่เจอแรงกดดันให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว ประกาศว่า จะบันทึกประวัติการกลั่นแกล้งกันของนักเรียนไว้ในใบสมัครเข้ามหาวิทยาลัยด้วย แม้จะหวังจูงใจนักเรียนไม่ให้รังแกกัน แต่สิ่งนี้ยิ่งกระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวลของผู้ปกครอง ทำให้พวกเขากดดันครูให้ลบล้างการกระทำผิดของลูก
เรียบเรียงจาก BBC
ภาพจาก Chris Jung/NurPhoto via Getty Images
ประกาศฉบับที่ 16 รับมือ “ฝนตกหนัก” จนถึง 6 ก.ย.
ลิงก์ดูสดวอลเลย์บอลหญิง ! ไทย พบ เวียดนาม ชิงแชมป์เอเชีย AVC 2023 วันที่ 4 ก.ย. 66
บีวายดี ประกาศเลิกติดชื่อแบรนด์ Build Your Dreams ที่ฝากระโปรงท้าย